วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

63: วางทุกอย่างที่รู้ ไม่ต้องรู้ทุกอย่างถึงค่อยวาง


ภาพ:สนทนาธรรมยามเช้า (01.07.55)
วางทุกอย่างที่รู้ ไม่ต้องรู้ทุกอย่างถึงค่อยวาง
(องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช)

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

62: รวมอริยาบทต่างๆ วาระพุทธชยันตี

น้อมถวายภัตตาหาร (2 มิ.ย.)
น้อมถวายภัตตาหาร (4 มิ.ย.)

ภายหลังถวายภัตตาหาร

องค์ท่านมอบวัตถุมงคล (4 มิ.ย.)
สนทนาธรรมกลางแจ้งด้านหน้าหอฉัน (4 มิ.ย.)

เตรียมทำวัตรเย็น (4 มิ.ย.)

องค์ท่านให้โอวาท ญาติโยมนั่งภาวนาน้อมรับธรรม (4 มิ.ย.)

เมตตาจารองค์แรกแด่คุณเอิญ (4 มิ.ย.)
องค์ท่านจารให้ เป็นมั่นใจเกิน 100 (4 มิ.ย.)

61: ภาพสร้างพละ ๕ แด่ นรธ.และญาติธรรม

โมทนาสาธุกับท่านนครด้วยทุกประการครับ
ผมขออนุญาตลงภาพองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ระหว่างก่อสร้างฐานประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก
จักทยอยลงภาพเต็มให้ชมลำดับต่อไป






ที่เตรียมประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก (กำลังดำเนินการ)

60: เสาอโศก

เนื่องในวาระพุทธชยันตี วิสาขบูชา 55 พระวิปัสสนาจารย์ได้ถวายเสาหินอโศก (จำลอง)
ที่ท่านได้อัญเชิญมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย
แด่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช





ล๊อกเก็ตหลวงพ่อพระพุทธเมตตา
ขอโมทนาสาธุยิ่งครับ
----------------------------------
เสาอโศก หรือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Pillars of Ashoka, ฮินดี: अशोक स्तंभ, อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช

เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี

หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ

รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดีย